สำนวนไทย คือ คำกล่าวหรือถ้อยคำคมสั้นๆ ที่ผูกเข้าเป็นประโยคหรือวลี มีความหมายกระชับรัดกุม แต่มีความหมายเป็นนัย มีความหมายเชิงเปรียบเทียบ โดยแบ่งออกเป็นสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย
สำนวน ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ว่ายน้ำ รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
สุภาษิต หมายถึง ข้อความหรือถ้อยคำสั้นๆ มีความกะทัดรัด ใช้คำง่ายๆ มักมีความหมายไปในทางแนะนำสั่งสอน มีคติสอนใจ ให้ความจริงเกี่ยวกับความคิดและแนวปฏิบัติ ซึ่งสามารถพิสูจน์เชื่อถือได้ เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่เปรียบเทียบเหตุการณ์ หรือเรื่องราวต่างๆ ที่พบเห็นได้ในการดํารงชีวิตของคนรุ่นก่อน โดยมากไม่เน้นการสั่งสอน แต่ ใช้ ในทํานองเสียดสีประชดประชันเพื่อให้สะท้อนความคิด ความเชื่อถือ และเป็นคติเตือนใจ หรือเป็นข้อคิดสะกิดใจให้นํามาปฏิบัติ เช่น งมเข็มในมหาสมุทร, ขิงก็ราข่าก็แรง
ขอบคุณข้อมูลจาก : วรวรรณ. (2549). รู้ถ้วนสำนวนไทย. กรุงเทพมหานคร:อักษรเจริญทัศน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น