สำนวนไทยหมวด ม

มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ 

ความหมาย คนที่ไม่ช่วยหลืองานส่วนรวม ไม่ให้ความร่วมมือ แล้วยังทำตัวเกะกะ ขัดขวางการทำงานของผู้อื่น จนทำให้การทำงานนั้นยากขึ้นไปอีก

ตัวอย่าง ถ้าคุณไม่เห็นด้วย ไม่คิดจะช่วยงานนี้ ก็อยู่เฉยๆเสียดีกว่า อย่าทำเป็นพวกมือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หาเรื่องทำให้งานมันยากขึ้นไปอีกเลย



......................................................................................................

มือถือสาก ปากถือศีล 

ความหมาย ชอบแสดงตัวตนว่าเป็นคนมีศีล มีธรรม แต่ทำความเลวเป็นนิจ

ตัวอย่าง ทำเป็นว่ากล่าวคนอื่นว่าเป็นพวกไม่มีน้ำใจ ไม่เอื้อเฟื้อ ให้แก่เด็กกับชราเวลาขึ้นรถประจำทาง ทั้งๆที่ตัวเองก็ไม่เคยลุกให้คนอื่นนั่งแบบนี้มันมือถือสาก ปากถือศีลชัดๆ


ขอบคุณภาพจาก : http://funtales4u.blogspot.com/2011/06/blog-post.html
......................................................................................................

มัดมือชก 

ความหมาย บังคับหรือใช้วิธีให้คนอื่นอยู่ในอำนาจแล้วทำตามที่จนต้องการ 


ตัวอย่าง อยู่ๆ เขาก็มัดมือชกเขียนใบสมัครให้ฉันเป็นตัวแทนไปประกวดนางสาวไทยโดยที่ฉันไม่มีโอกาสได้ปฏิเสธเลย



ขอบคุณภาพจาก : https://kuntadaya.wordpress.com/category/รู้จักสำนวน-สุภาษิต-คำพั/มัดมือชก/
......................................................................................................

แมงเม่าบินเข้ากองไฟ 

ความหมาย คนที่ลุ่มหลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยคิดว่าเป็นสิ่ที่ดี และหลงผิดเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย จนตนเองได้รับอันตราย

ตัวอย่าง เขาเห็นคนอื่นมีบัตรเครดิต ซื้ออะไรได้ตามอำเภอใจ ก็เลยอยากได้อยากมีเหมือน จึงใช้ก่อนผ่อนทีหลัง สุดท้ายก็ต้องเป็นหนี้บัตรเครดิตก็คงไม่ต่างอะไรกับแมลงเม่าบินเข้ากองไฟ




......................................................................................................


ไม้ซีกงัดไม้ซุง 

ความหมาย คนผู้น้อยหรือผู้มีฐานะต่ำไปคัดค้าน หรือไปก่อความกับผู้มีอำนาจสูงกว่า หรือมีฐานะดีกว่า ก็ย่อมจะเป็นผู้แพ้หรือทำไม่สำเร็จ มีแต่จะได้รับอันตรายอีกด้วย เพราะไม้ซีกเล็กกว่าไม้ซุง เมื่อเอาไปงัดไม้ซุงจะให้พลิกขึ้น ก็รังแต่ไม้ซีกจะหักเปล่า

ตัวอย่าง ลำพังเราคนเดียวคงไปคัดค้านการตัดสินใจของผู้บริหารไม่ได้หรอก เหมือนเอาไม้ซีกไปงัดไม่ซุง


ขอบคุณภาพจาก : http://samnuan-thai.blogspot.com/2013/06/blog-post_1222.html
......................................................................................................




ขอบคุณข้อมูลจาก : วรวรรณ. (2549). รู้ถ้วนสำนวนไทย. กรุงเทพมหานคร:อักษรเจริญทัศน์














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น