สำนวนไทยหมวด ฟ

ฟังหูไว้หู 

ความหมาย การรับฟังเรื่องราวต่างๆ แต่ไม่เชื่อทั้งหมดในทันที แต่รับฟังไว้ก่อนแล้วจึงพิจารณาในภายหลังว่าสิ่งนั้นเชื่อถือได้หรือไม่

ตัวอย่าง การรับฟังเรื่องราวที่ดูเกินความเป็นจริง หรือเป็นเรื่องที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน บางครั้งใช้กับการรับฟังข่าวที่สร้างความแตกแยกหรือข่าวที่ใส่ไฟ ใส่ร้ายผู้อื่น

ขอบคุณภาพจาก : https://twitter.com/k_cp01
......................................................................................................

ฟื้นฝอยหาตะเข็บ

ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงเอาเรื่องที่ผ่านไปแล้ว มาพูดให้สะเทือนใจ ทำให้มีประเด็นปัญหาขึ้นอีก ทั้งๆที่เรื่องราวนั้นได้จบลงแล้ว

ตัวอย่าง ลุงดำตั้งวงนั่งพูดคุยอยู่กับเพื่อนๆกันอย่างสนุกสนาน อยู่ๆลุงแดงเพื่อนของลุงดำพูดขึ้นว่า ตอนหนุ่มๆลุงดำยากจนแร้นแค้น ทำให้ไม่มีสาวคนไหนเหลียวมองเลย ทำให้ลุงดำนั่งเศร้าอยู่พักใหญ่



......................................................................................................

ไฟสุมขอน

ความหมาย สํานวนสุภาษิตนี้หมายถึงความรู้สึกร้อนรุ่มที่เกิดขึ้นในใจ

ตัวอย่าง เธอต้องรู้จักให้อภัยและปล่อยวางเรื่องราวที่ผ่านมาเสียบ้างนะ ไม่เช่นนั้นมันก็จะเหมือนไฟสุมขอนทำให้เธอทรมานอยู่แบบนี้ จนในที่สุดก็หาความสุขไม่ได้

ขอบคุณภาพจาก : http://proverbthai.com/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%99.html
......................................................................................................

ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด

ความหมาย การฟังข้อความไม่ชัดแจ้งไม่ครบถ้วน ฟังไม่เข้าใจ ฟังไม่รู้เรื่องแต่นำไปตีความ แล้วพูดต่ออย่างผิดๆถูกๆ ทำให้เกิดความเสียหายตามมาภายหลัง

ตัวอย่าง เพราะเธอฟังไม่ได้ศัพท์ จับมากระเดียดแหละงานของทีมเราต้องล้มเหลวแบบนี้


ขอบคุณภาพจาก : https://www.pixtastock.com/illustration/20313623
......................................................................................................

ฟ้าหลังฝน

ความหมาย ความสดใสที่อยู่รออยู่หลังจากผ่านอุปสรรคไปได้

ตัวอย่าง
 ถ้าเราผ่านพ้นวันนี้ไปได้เชื่อเถอะว่าฟ้าหลังฝนยังรอเราอยู่


ขอบคุณภาพจาก : http://s279.photobucket.com/user/Yuttha-opas/media/39-1.png.html
......................................................................................................




ขอบคุณข้อมูลจาก : วรวรรณ. (2549). รู้ถ้วนสำนวนไทย. กรุงเทพมหานคร:อักษรเจริญทัศน์
























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น